ประวัติอาจารย์ผู้ทรงเกียรติคุณ
อาจารย์เอื้อ บัวสรวง กับมูลนิธิฯ
อาจารย์เอื้อ บัวสรวง เป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสมาคมโหรแห่งประเทศไทย เปรียบประดุจเสาชัยต้นหนึ่งที่ค้ำยันสมาคมฯ ไว้ จนอยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้ บุญคุณที่ท่านมีต่อสมาคมฯ ผู้รู้เรื่องทุกคนไม่เคยลืม ท่านไม่เคยทอดทิ้งสมาคมฯ ไม่ว่าในยามดีมีสุขหรือในยามทุกข์ยากเข็ญ ประชุมใหญ่รวมถึงงานสำคัญอื่นๆ ของสมาคมฯ ท่านจะมาเป็นกำลังใจให้ทุกครั้ง
อาจารย์เอื้อ บัวสรวง เป็นประธานมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ คนแรก
อาจารย์เอื้อ บัวสรวง เกิดวันที่ 6 มีนาคม 2457 ที่จังหวัดสิงห์บุรี บิดาชื่อ นายกุล บัวสรวง มารดาชื่อ นางแอบ บัวสรวง มีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม 4 คน การศึกษาขั้นสูงสุด เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษากฎหมายสมาคมโหรแห่งประเทศไทย วัดบวรนิเวศ พ.ศ2515 จนถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2542
อาจารย์เอื้อ บัวสรวงได้ถึงแก่กรมด้วยอาการสงบ เนื่องจากโรคหัวใจและตับล้มเหลว รวมสิริอายุ 84 ปี 2 เดือน 2 วัน
หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์เอื้อ บัวสรวง
อาจารย์ วรพรรณ เลาหะวิไลย
อดีตนายกสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
อดีตเลขานุการมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในสังฆราชูปถัมภ์
นางสาววรพรรณ เลาหะวิไลย เกิดวันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2471 จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรีคุณพ่อถนิม คุณแม่บุญนาค มีพี่น้อง 6 คน ตามลำดับดังนี้
1. พันเอก(พิเศษ)แก้ว เลาหะวิไลย (เสียชีวิต)
2. นางสาววรพรรณ เลาหะวิไลย (ผู้วายชนม์)
3. นายยุทธ เลาหะวิไลย
4. นายแพทย์อาภรณ์ เลาหะวิไลย
5. นางสรรพพร วิชิตะกุล
6. นายเหม เลาหะวิไลย
ชีวิตเยาว์วัยมีความตั้งใจ มานะพยายามด้านการเรียน จิตใจเที่ยงตรง มีศีลธรรม
วุฒิการศึกษา
โรงเรียนวุฒิศึกษา จังหวัดธนบุรี
โรงเรียนเบญจมราชาลัย
วิทยาลัยพณิชยการพระนคร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 2
หลังจบการศึกษารับราชการครูมาโดยตลอด (โดยมีการย้ายไปสถาบันต่างๆหลายสถาบัน จนเกษียณที่พณิชยการธนบุรี , ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสถาบันเทคโนโลยีฯ)
ความเป็นมาของการเข้ามาอยู่ในวงการโหร
กลางปี พ.ศ. 2516 (ระหว่างทำงานเป็นอาจารย์อยู่ที่สถาบันวิทยาเขตเทคโนโลยีเทเวศร์) ได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมโหรแห่งประเทศไทย โดยเริ่มเรียนโหรศาสตร์ไทยกับอาจารย์ เชย บัวก้านทองเป็นคนแรก ต่อมาได้เรียนกับอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ , อาจารย์ประทีป อัครธีรานนท์ (สอนตัวเลข 7 ตัว) และอาจารย์บุญสม สว่างศรี (สอนลายมือ)
ปี พ.ศ. 2517 อาจารย์บุญสมได้ชักชวนให้เป็นกรรมการบริหารสมาคมฯ ตำแหน่งเหรัญญิก (ขณะนั้น พันตำรวจโทประสิทธิ์ วัละยูวะ เป็นนายกฯ)
และอีก 2 ปีถัดไป ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เลขาธิการ อีกตำแหน่งหนึ่งจนถึงสิ้นปี พ.ศ.2536
ปี พ.ศ. 2537 สมาคมมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ เนื่องจาก พันตำรวจโทประสิทธิ์ ถึงแก่กรรม (8 ธ.ค. 2536) ต้องมีการเลือกตั้งนายกฯคนใหม่ ซึ่งในที่ประชุมมีผู้เสนอให้อาจารย์วรพรรณ เลาหะวิไลย ลงสมัครแข่งขัน ในที่สุดก็ได้เสียงรับรองจากสมาชิกฯลงมติเป็นเอกฉันท์ ให้ได้รับเลือกเป็นนายกฯคนใหม่
ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2537 ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช เนื่องในวันประสูติ ทรงรับสั่งให้ตั้งมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในสังฆราชูปถัมภ์ขึ้น เพื่อความมั่นคงและทำประโยชน์ให้สังคม ครั้งนั้นประทานทุนให้ก้อนหนึ่งประมาณสามหมื่นบาท
และในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ, 2539 ได้จัดตั้งเป็นองค์กรนิติบุคคลตามกฎหมายชื่อ “มูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์” ในครั้งได้ท่าน “อาจารย์เอื้อ บัวสรวง” เป็นประธานมูลนิธิฯคนแรก อาจารย์วรพรรณได้รับตำแหน่งเป็นเลขานุการมูลนิธิ กระทั่งปี พ.ศ. 2544 ได้แต่งตั้งให้ “อาจารย์อารี สวัสดี” เป็นประธานมูลนิธิฯ โดยอาจารย์วรพรรณยังคงรับตำแหน่งเป็นเลขานุการให้มูลนิธิฯ จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2548 จึงขอลาออกเนื่องจากสุขภาพไม่แข็งแรง คณะกรรมการมูลนิธิฯจึงเห็นสมควรแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์จนถึงวาระสุดท้าย
อาจารย์วรพรรณ เลหะวิไลยจึงอยู่ในตำแหน่งนายกสมาคมโหรแห่งประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ถึง พ.ศ. 2543 และอยู่ในตำแหน่งเลขานุการมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในสังฆราชูปถัมภ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2548
ต่อมาร่างกายเริ่มทรุดโทรมลงเรื่อยๆ เข้าออกโรงพยาบาลหลายสิบครั้ง จนถึงเวลา 02.30 นาฬิกาของวันที่ 18 ตุลาคม 2551 โรคหัวใจกำเริบมีอาการแน่นหน้าอก ญาติได้นำส่งโรงพยาบาล แต่ในระหว่างทางมีอาการเกร็งแน่นหน้าอก และเสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล สิริรวมอายุได้ 80 ปี 1เดือน 8 วัน
อาจารย์วรพรรณ เลาหะวิไลย รับราชการเป็นครูในสถาบันต่างๆด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและวิริยะอุตสาหะตลอดชีวิตการรับราชการ และเมื่อมาทำงานในสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์และมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในสังฆราชูปถัมภ์ อาจารย์ได้อุทิศตนในการทำงานทั่งร่างกายและจิตใจ จนเป็นที่ยอมรับของสมาชิกและมีลูกศิษย์มากมายที่ได้รับการอบรมสั่งสอน ในวิชาทางโหราศาสตร์จากอาจารย์ และในบั้นปลายของชิวิตก็ยังทำความดี และทำบุญทำทานเสมอมามิได้ขาด
ขอดวงวิญญาณของอาจารย์วรพรรณ เลาหะวิไลย จงสถิต ณ สรวงสวรรค์ตลอดกาลนานเทอญ
อาจารย์ สุถิรา ประภาพานิชย์ .
อาจารย์สุถิรา ประภาพานิชย์ เป็นอาจารย์สอนโหวงเฮ้งตั้งแต่สมัยอยู่สมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จนกระทั่งมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 อาจารย์สุถิรา ประภาพานิชย์ ซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิฯและเป็นอาจารย์สอนโหงวเฮ้งที่มูลนิธิฯแห่งเดียวได้ดำเนินมาจนถึงวาระสุดท้าย ความใจสู้เมื่อถึงกำหนดเปิดสอนก็ยังบอกลูกสาวว่าให้มาส่งแม่ที่มูลนิธิฯ ความตั้งใจจะมาสอนแต่สังขารไม่อำนวย
ความเจ็บป่วยทำให้ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2554 เรื่อยมาจนกระทั่งถึงวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2554 เวลาประมาณเกือบ 01.00 น.อาจารย์สุถิรา ประภาพานิชย์ ก็ละสังขารไปอย่างสงบ
อาจารย์พันเอกปรีชา แดงบุบผา (ปรมาจารย์ลายมือ)
พันเอก ปรีชา แดงบุบผา ท.ช.,ท.ม.
เกิดวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๖๖
มรณะ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ สิริอายุรวม ๘๙ ปี ๓ เดือน
พระราชทานเพลิงศพวันอาทิตย์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ ฌาปนสถานกองทับบก วัดโสมนัสวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
..........................................
พันเอก ปรีชา แดงบุบผา ท.ช.,ท.ม. เกิดวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๖๖ ที่ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
เป็นบุตรของคุณพ่อสุขกับคุณแม่ผาด แดงบุบผา
สมรสกับนางบุญเรือง แดงบุบผา(วงศ์สวัสดิ์) มีบุตรธิดารวม ๕ คน คือ
๑. นางปทุมมาศ พูลทรัพย์(แดงบุบผา)
๒. นางสาวอัจฉรา แดงบุบผา
๓.นายปราโมทย์ แดงบุบผา
๔.นางสาววิภาพร แดงบุบผา
๕. นางธนันพัชร์ แดงบุบผา
ประวัติการศึกษา
- โรงเรียนวัดทรงธรรม ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
- เตรียมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง (ตมธก.รุ่น ๔)
- สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ประวัติการทำงาน
ยศทหาร
- ว่าที่ร้อยตรี
- ร้อยตรี
- ร้อยโท
- ร้อยเอก
- พันตรี
- พันเอก
- พันเอก (อัตราพันเอกพิเศษ)
ตำแหน่ง
- เข้ารับราชการเป็นเสมียน ในกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง(ระหว่างศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง)
- ลาออกจากราชการกระทรวงการคลัง เพื่อเข้ารับราชการในกรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม(จบ.ตมธก.รุ่น๔)
- เข้ารับราชการ เป็นเสมียนในแผนกที่ ๑ กรมพระธรรมนูญ (พ.ศ.๒๔๙๔)
- เป็นอัยการสำรอง ศาลทหารกรุงเทพมหานคร (พ.ศ.๒๔๙๔)
- เป็นอัยการผู้ช่วยศาลทหารกรุงเทพมหานคร (พ.ศ.๒๔๙๖)
- ประจำกองอัยการทหาร (พ.ศ.๒๔๙๖)
- เป็นนายทหารพระธรรมนูญ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ (พ.ศ.๒๔๙๘)
- นายทหารพระธรรมนูญ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๑ รักษาพระองค์ (พ.ศ.๒๕๐๐)
- นายทหารพระธรรมนูญ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ (พ.ศ.๒๕๐๑)
- อัยการศาล จังหวัดทหารบก พิษณุโลก (พ.ศ.๒๕๐๒)
- นายทหารพระธรรมนูญ ศูนย์การทหารม้า
- นายทหารพระธรรมนูญ กรมการทหารสื่อสาร
- นายทหารพระธรรมนูญ กรมยุทธศึกษาทหารบก
- นายทหารพระธรรมนูญ มณฑลทหารบกที่ ๒
- เป็นตุลาการพระธรรมนูญ ฝ่ายศาลทหารกรุงเทพ กรมพระธรรมนูญ (อัตราพันเอก)
- เป็นทหารพระธรรมนูญ ฝ่ายศาลทหารกรุงเทพ
- เป็นนายทหารพระธรรมนูญ กรมยุทธศึกษาทหารบก
- ตุลาการพระธรรมนูญ ฝ่ายศาลทหารกลาง (อัตราพันเอก)
- เป็นตุลาการพระธรรมนูญ ฝ่ายศาลทหารกลาง (อัตราพันเอกพิเศษ)
ตำแหน่งพิเศษ
- เป็นตุลาการศาลทหารกรุงเทพ และเป็นตุลาการพระธรรมนูญด้วย (ตั้งแต่ ๗ มิถุนายน ๒๕๑๖)
- มีบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้เป็นตุลาการศาลทหารกลาง และเป็นตุลาการพระธรรมนูญด้วย (ตั้งแต่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๑)
- เป็นตุลาการศาลทหารกรุงเทพ และเป็นตุลาการพระธรรมนูญด้วย (ตั้งแต่ ๙ มิถุนายน ๒๕๒๔)
ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
- จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
- จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
- ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
- ตริตำรณ์ช้างเผือก
- เหรียญจักรมาลา
- ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
- ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
งานพิเศษ
- เป็นกรรมการ และ สอนวิชาหัตถศาสตร์(ลายมือ) ที่สมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
- เป็นรองประธานมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ และเป็นอาจารย์สอนวิชาหัตถศาสตร์(ลายมือ)
ที่มา : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ