เว็บบอร์ด

กระทู้ ถามตอบโหราศาสตร์ พยากรณ์ศาสตร์

ปิดปรับปรุงชั่วคราว

ธุรกิจหมอดูปี’49 : คนกรุงเทพฯจ่ายเงินดูหมอ 2 / 400 ล้านบาท

ได้อ่านงานวิจัยของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเรื่อง "ธุรกิจหมอดูปี’49 : คนกรุงเทพฯจ่ายเงินดูหมอ 2,400 ล้านบาท" คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับนักโหราศาสตร์จึงขอนำบทคัดย่อมาเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับทุกท่านครับ

“ธุรกิจหมอดู” เป็นธุรกิจที่ยังคงเติบโตต่อเนื่องไม่ว่าจะอยู่ในช่วงภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรืองหรือซบเซา คนกรุงเทพฯส่วนหนึ่งต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่บีบคั้น ทำให้เกิดอาการเครียด ภาวการณ์เช่นนี้ทำให้ทุกคนพยายามหาทางออกที่ดีกว่าให้กับชีวิตและจิตใจของตนเอง โดยที่ปรึกษาที่เป็นทางเลือกหนึ่งของคนกรุงเทพฯจำนวนไม่น้อยคือ“หมอดู” ถึงแม้ว่าในปัจจุบันบรรดาหมอดูที่มีชื่อเสียงจะเพิ่มราคาค่าบริการแต่ก็ยังมีลูกค้าไปอุดหนุนกันอย่างต่อเนื่อง นอกจากการใช้บริการหมอดูเป็นการส่วนตัวแล้ว ในปัจจุบันบรรดาหนังสือและนิตยสารต่างๆก็จะมีการตีพิมพ์คำทำนายชะตาชีวิตสอดแทรกเข้ามาเป็นหนึ่งในคอลัมภ์ประจำให้กับผู้อ่าน ซึ่งบริการหมอดูก็จัดเป็นหนึ่งในคอลัมภ์ยอดฮิตที่มีแฟนประจำไม่น้อยทีเดียว นอกจากนี้ในช่วงที่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้นก็มีการทำนายชะตาชีวิตทั้งในอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และบริการผ่านระบบออดิโอเท็กซ์ ซึ่งบริการเหล่านี้มีทั้งบริการฟรีและต้องเสียค่าใช้จ่าย การดูหมอผ่านทางเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆนี้ทำให้ธุรกิจหมอดูได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน/นักศึกษาหรือกลุ่มเยาวชน ดังนั้นธุรกิจหมอดูจึงเป็นธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากเงินที่สะพัดอยู่ในธุรกิจนี้ในแต่ละปีมีมูลค่าไม่น้อยเลยทีเดียว บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด สำรวจ “คนกรุงเทพฯกับการใช้บริการหมอดู”ซึ่งเมื่อนำมาคำนวณจากจำนวนคนที่ใช้บริการหมอดู ความถี่ในการใช้บริการ และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการใช้บริการ คาดว่าในปี 2549 ธุรกิจหมอดูและธุรกิจต่อเนื่องนั้นก่อให้เกิดเม็ดเงินสะพัดในธุรกิจถึง 2,400 ล้านบาท เมื่อเทียบกับในปี 2548 แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 โดยแยกเป็นธุรกิจหมอดูโดยเฉพาะทำให้เกิดเม็ดเงินสะพัดในปี 2549 ประมาณ 1,700 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเม็ดเงินสะพัดในปี 2548 แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 นอกจากนี้ธุรกิจหมอดูยังก่อให้เกิดเม็ดเงินสะพัดในธุรกิจต่อเนื่องอื่นๆ เช่น ธุรกิจทำบุญ/สะเดาะเคราะห์ ธุรกิจหนังสือพยากรณ์ดวงชะตา รวมไปถึงธุรกิจสื่อสารประเภทอินเตอร์เน็ตและออร์ดิโอเท็กซ์ที่ให้บริการดูหมอเป็นต้น โดยคำนวณได้ว่าในปี 2549 ธุรกิจหมอดูทำให้เกิดเม็ดเงินสะพัดในธุรกิจต่อเนื่องถึง 700 ล้านบาทใกล้เคียงกับในปี 2548 จากการสำรวจพฤติกรรมการใช้บริการหมอดูของกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด พบว่า -ลักษณะการพึ่งพาธุรกิจหมอดู แยกออกเป็นผู้ที่ดูหมอเป็นประจำร้อยละ 23.0 ของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มที่ดูหมอทุกครั้งที่มีโอกาสร้อยละ 33.1 และกลุ่มที่ดูหมอเฉพาะเวลาที่มีปัญหาร้อยละ 38.4 และที่เหลืออีกร้อยละ 5.6 นั้นจะพึ่งบริการหมอดูตามความสะดวก อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับพฤติกรรมการดูหมอของคนกรุงเทพฯที่ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยเคยทำการสำรวจในปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ คือ คนกรุงเทพฯที่เป็นกลุ่มตัวอย่างหันมาสนใจพึ่งพาธุรกิจหมอดูเป็นประจำมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา -ปัญหายอดนิยม ปัญหายอดนิยม 3 อันดับแรกที่นำไปปรึกษาหมอดู คือ ปัญหาในเรื่องการงาน ปัญหาเรื่องการเงิน และปัญหาความรักซึ่งแตกต่างจากผลการสำรวจในครั้งที่ผ่านมา กล่าวคือคนกรุงเทพฯเริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาในเรื่องการงานมากขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับผลสำรวจที่ผ่านมา -ความถี่ในการใช้บริการหมอดู ในปี 2549 คนกรุงเทพฯที่เป็นกลุ่มตัวอย่างใช้บริการหมอดูเฉลี่ย 5.23 ครั้ง และเสียค่าใช้จ่ายในการดูหมอเฉลี่ย 154.87 บาทต่อครั้ง อย่างไรก็ตามความถี่ในการไปดูหมอและค่าใช้จ่ายในการดูหมอนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมากเมื่อเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้งในแง่ของเพศ ระดับการศึกษาและอาชีพ เนื่องจากคนส่วนใหญ่เสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่า 200 บาทต่อครั้ง แต่ก็มีกลุ่มตัวอย่างบางรายยินดีจะจ่ายเกินกว่า 1,000 บาทต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อถือในตัวหมอดูแต่ละคน นอกจากนี้เมื่อเทียบกับผลการสำรวจพฤติกรรมการใช้บริการหมอดูจากการสำรวจครั้งที่ผ่านมาแล้วพบว่าทั้งความถี่ในการใช้บริการหมอดูต่อเพิ่มขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการใช้บริการหมอดูมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากบรรดาผู้ที่นิยมดูหมอบางส่วนหันไปใช้บริการหมอดูที่ให้บริการฟรีหรือ จึงพอจะสรุปได้ว่าไม่ว่าหมอดูจะขึ้นราคาค่าบริการแต่คนกรุงเทพฯก็ยังนิยมไปใช้บริการหมอดูค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการดูหมอของคนกรุงเทพฯปีความถี่(ครั้ง/ปี)ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย*(บาท/ครั้ง)เม็ดเงินสะพัดเฉพาะการดูหมอ(ล้านบาท)เม็ดเงินสะพัดธุรกิจเกี่ยวข้อง**(ล้านบาท)เม็ดเงินสะพัดรวม(ล้านบาท)25442.00200.001,0005001,50025452.00300.001,5005002,00025483.49270.341,6007002,30025495.23154.871,7007002,400

ที่มา : โพลล์ศูนย์วิจัยกสิกรไทยหมายเหตุ : *ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยจะแตกต่างกันอย่างมาก เนื่องจากบางคนไม่เสียค่าใช้จ่าย ในขณะที่บางคน เสียค่าใช้จ่ายสูงถึง 2,000 บาทต่อครั้ง **ธุรกิจสังฆทาน สะเดาะเคราะห์อื่นๆ หนังสือ/ตำรา ฯลฯ -ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกหมอดู ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกหมอดู คือ ร้อยละ 58.7 ของกลุ่มตัวอย่างได้รับการแนะนำจากเพื่อนหรือญาติ ร้อยละ 21.2 ไปดูหมอเพราะได้ยินชื่อเสียงของหมอดู ร้อยละ 14.5 ไปตามคำแนะนำของหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร และที่เหลืออีกร้อยละ 5.7 ไม่ได้เจาะจงหมอดูคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะเพียงแต่โอกาสเอื้ออำนวยให้ดูหมอในช่วงนั้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามเป็นที่สังเกตได้ว่าการแนะนำจากเพื่อนหรือญาตินั้นยังคงเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งทุกครั้งที่มีการสำรวจถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกหมอดู

อย่างไรก็ตามประเด็นที่น่าสนใจการถูกหมอดูหลอกโดยเฉพาะการเรียกเงินเป็นจำนวนสูงเพื่อทำพิธีสะเดาะห์เคราะห์/ทำเสน่ห์ ซึ่งนับว่าเป็นประเด็นที่ต้องระมัดระวังมากขึ้น โดยบรรดาหมอดูที่ดีมีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีมิจฉาชีพแฝงตัวอยู่ในธุรกิจหมอดูด้วย โดยอาศัยความเชื่อถือวิชาชีพหมอดูเพื่อเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งก็มีข่าวคราวปรากฏในสื่อต่างๆอยู่เสมอ คนกรุงเทพฯที่ใช้บริการหมอดูนั้นร้อยละ 14.6 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดระบุว่าถูกหมอดูหลอก ร้อยละ 49.9 นั้นไม่แน่ใจว่าถูกหลอกหรือไม่ และร้อยละ 35.5 นั้นไม่เคยถูกหมอดูหลอก นอกจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการทำบุญ/สะเดาะห์เคราะห์แล้วบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ยังสำรวจพบว่าคนกรุงเทพฯที่สนใจธุรกิจหมอดูร้อยละ 39.7 ซื้อหนังสือทำนายดวงชะตามาอ่าน ร้อยละ 32.3 ซื้อทัวร์เพื่อตระเวนไหว้พระในประเทศ ร้อยละ 4.8 ซื้อเทป/ซีดีทำนายดวง และร้อยละ 2.3 ซื้อทัวร์เพื่อไหว้พระในต่างประเทศ และที่เหลืออีกร้อยละ 20.9 เลือกทำกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหมอดู ซึ่งกิจกรรมที่นิยมมากที่สุดคือการเลือกเรียน/ศึกษาหมอดู ซึ่งเมื่อนำมาคำนวณเป็นเม็ดเงินสะพัดในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเหล่านี้แล้วพบว่าก่อให้เกิดเม็ดเงินสะพัดประมาณ 200 ล้านบาท ธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการดูหมอ โดยเฉพาะตำราที่ใช้ประกอบในการดูหมอ ซึ่งมีวางจำหน่ายอย่างหลากหลาย สำหรับผู้ที่สนใจจะหาซื้อไว้เพื่อศึกษาด้วยตนเอง หรือซื้อไปใช้สำหรับการประกอบอาชีพหมอดูในอนาคต โดยในร้านจำหน่ายหนังสือหลายแห่งจัดวางหนังสือเกี่ยวกับหมอดูไว้เป็นมุมเฉพาะเพื่อตอบสนองผู้อ่านที่สนใจหนังสือด้านนี้ ส่วนอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นไพ่ป๊อก ไพ่ทาโร่หรือไพ่ยิปซี แว่นขยาย ปฏิทิน 100 ปีสำหรับดูตำแหน่งของดาวต่างๆในวันเกิดของผู้ที่ต้องการดูหมอ ฯลฯ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการดูหมอเหล่านี้มียอดขายเพิ่มขึ้นตามความนิยมของธุรกิจหมอดู โดยบรรดาหมอดูสมัครเล่นต้องการซื้ออุปกรณ์เหล่านี้เพื่อไปประกอบในการศึกษาตำราหมอดู ธุรกิจหนังสือและเทปพยากรณ์ดวงชะตา โดยเฉพาะหนังสือและเทปเฉพาะกิจที่เป็นคำทำนายดวงชะตาตลอดทั้งปีตามดวงวันเกิด 12 ราศี ซึ่งจะออกวางจำหน่ายในช่วงปลายปีและต้นปี หนังสือและเทปดังกล่าวนี้มีวางจำหน่ายในร้านขายหนังสือและได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และธุรกิจโรงเรียนสอนการพยากรณ์ดวงชะตา ปัจจุบันคนกรุงเทพฯสนใจดูหมอมาก ทำให้อาชีพหมอดูเป็นอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากมีโอกาสที่จะมีรายได้งามถ้ามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ จึงไม่น่าแปลกใจที่ในปัจจุบันมีผู้ที่เป็นหมอดูสมัครเล่นมากมายที่สนใจศึกษาด้วยตนเอง และการเรียนรู้จากบรรดาอาจารย์หมอดูทั้งหลาย ดังนั้นโรงเรียนสอนการพยากรณ์ดวงชะตานั้นจึงเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มแจ่มใสไม่น้อยเลยทีเดียว

สนใจรายละเอียดลองติดต่อที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยกันเองนะครับ http://www.kasikornresearch.com/kr/search_detail.jsp?id=6624&cid=12


Pallas - 1 มิถุนายน พ.ศ.2552 00:00น. (IP: 202.57.179.22)

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
โหรกับหมอดูไม่เหมือนกัน


อยู่แถวนี้ - 4 สิงหาคม พ.ศ.2549 17:04น. (IP: 203.107.192.231)

ความคิดเห็นที่ 2
ผมรู้สึกถึงความแตกต่างของโหรกับหมอดูอยู่เหมือนกัน แต่ยังอธิบายให้ชัดเจนไม่ได้ ถ้าความเห็นที่ 1 ช่วยขยายความจะดีมากเลยครับ

สำหรับคนภายนอกวงการโหราศาสตร์ ผมคิดว่าเขาคงไม่สนใจที่จะแยกแยะความแตกต่างของโหรกับหมอดูหรอกครับ แต่ถ้าคนในวงการเห็นความจำเป็นที่จะต้องแยกแยะ ก็คงต้องหาทางประชาสัมพันธ์หรือให้ความรู้กับสังคมในเรื่องนี้ดู

ที่สำคัญงานวิจัยนี้พูดถึงหมอดูในความหมายของผู้ที่ประกอบอาชีพให้บริการพยากรณ์เป็นหลัก ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงนักโหราศาสตร์ที่ศึกษาและพยากรณ์โดยไม่ได้ยึดเป็นอาชีพหรือไม่ได้รายได้ ผู้วิจัยเลยใช้คำว่าหมอดูเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายสำหรับคนส่วนมาก


pallas - 5 สิงหาคม พ.ศ.2549 01:20น. (IP: 202.57.179.22)