เว็บบอร์ด

กระทู้ ถามตอบโหราศาสตร์ พยากรณ์ศาสตร์

ปิดปรับปรุงชั่วคราว

ค่าความแม่นยำในตำนานที่ใช้วางปีอธิกมาส อธิกวารในปฏิทินไทย

ปฏิทินไทยเรามีการแบ่งลักษณะปีเป็น3แบบโดยเมื่อแบ่งด้วยจำนวนเดือนต่อปีจะได้ ปีที่มี 13เดือน ที่เรียกว่า "ปีอธิกมาสมี384วัน"ส่วน ปีที่มี 12เดือน ยังแบ่งย่อยได้2อย่างคือปีที่ไม่ต้องเพิ่มวัน เรียกว่า "ปีปกติ มี 354วัน"และปีที่ต้องเพิ่มวัน เรียกว่า "ปีอธิกวาร มี 355วัน"แต่พอจะหากฎการวางปีในปฏิทินไทย ทั้ง 3 ชนิดผู้รู้ก็ว่าแต่โบราณมาเขาจะใช้ตำราที่เป็นแม่แบบที่ใช้เป็นหลักวางปีทั้ง 3 ด้วยพระคัมภีร์สุริยยาตรแค่ได้ยินชื่อก็ฟังดูน่ากลัวแล้ว !?.ใครได้ลองศึกษาพระคัมภีร์สุริยยาตรดูก็พบว่าไม่มีจุดใดที่บอกเกี่ยวกับวิธีกำหนดปีปฏิทินไทยเลยขึ้นต้นมามีแต่จะเป็นสำนวนโบราณๆ ที่ทั้งชื่อและวิธีคำนวณ ดูจะยิ่งยุ่งยากขึ้นไปอีกเช่นหรคุณ(ใช้ในการนับวัน) มาสเกณฑ์(ใช้ในการนับเดือน)จุลศักราช(ใช้ในการนับปี) ดิถี (ใช้ในการนับวันย่อยของเดือน โดย1เดือน=30ดิถี) อวมาน (ใช้ในการนับเก็บส่วนย่อยดิถี โดย1ดิถี=692อวมาน)กัมมัชพล (ใช้ในการนับเก็บส่วนย่อยของปีสุริยคติ โดย1ปี=292207กัมมัชพล)เป็นต้น.ปัญหาเลยทำให้นักวิทยาศาสตร์นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักโหราศาสตร์ ฯลฯ คุยกันไม่ตรงกันสักทีนักวิชาการแบบสมัยใหม่เจอคัมภีร์สุริยยาตรเข้าก็จอดอ่านไม่รู้เรื่องไม่รู้จะเอาไปทำอะไรต่อได้หันไปใช้ค่าความแม่นยำตามศาสตร์สมัยใหม่ก็วางปีปฏิทินไทยได้ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่เคยใช้มาส่วนนักโหราศาสตร์ที่คุ้นเคยอยู่ก่อนก็อธิบายไม่ได้ว่าอะไรเป็นอะไรคำนวณเป็นแบบว่าไปตามขั้นตอนตามสำนวนโบราณไปเท่านั้นซึ่งหลังกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่2มาพระคัมภีร์สุริยยาตรก็ไม่มีปรากฏสูตรอธิกมาสอธิกวารมาให้ด้วยเลยสูตรที่มีนั้นพัฒนาขึ้นใหม่หลังกรุงศรีอยุธยาแตกทั้งสิ้นเช่น เกณฑ์อย่างหยาบในรอบ19ปีจะมีอธิกมาสราว 7ครั้งหรือ เกณฑ์อย่างหยาบในรอบ38ปีจะมีอธิกวารราว 7ครั้ง แบบต่างๆก็อาศัยพยายามจับระยะห่างระหว่างปีจากปีเก่าๆที่เคยวางมาแต่ก็ใช้ไม่ได้จริงระยะยาวสูตรทั้งหมดเลื่อนไปหมดแล้วครับ..เมื่อเร็วๆมานี้พึ่งจะมีการสรุปค่าความแม่นยำในพระคัมภีร์สุริยยาตรกันได้ชัดๆการค้นพบนั้นเริ่มมาจากค่าพื้นฐานง่ายๆที่ใช้คำนวณเกี่ยวกับ วัน เดือน ปี หรือหรคุณ มาสเกณฑ์ และจุลศักราชเพียง 4 ค่า จากพระคัมภีร์สุริยยาตรคือ1.ปีทางสุริยคติแบบพระอาทิตย์เล็งดาวฤกษ์(sidereal year)=292207/800 วัน2.เดือนข้างขึ้นข้างแรมหรือมาส(synodic month)=30*692/703 วัน3.ค่าเริ่มต้นปีแรกจ.ศ.0ตรงกับหรคุณ(the date of the first year)=373/800ค่านี้เป็นจุดเริ่มต้นปีทางสุริยคติในสุริยยาตร4.ค่าเริ่มต้นเดือนแรกมาสเกณฑ์0ตรงกับหรคุณ(the date of the first month)= -650/703ค่านี้เป็นจุดเริ่มต้นปีทางจันทรคติในสุริยยาตร.ด้วยค่าเพียง4ค่านี้ตามสุริยยาตรเท่านั้นครับ ในที่สุดจะพบรอบที่ใหญ่ที่สุดตามความแม่นยำในสุริยยาตรที่ลงตัวเป็นจำนวนเต็มชุดแรก ขอตั้งชื่อรอบนี้ว่า "ภูริกยุค" มีค่าดังนี้.1 ภูริกยุคแห่งสุริยยาตร=16,608,000 ปีสุริยคติแบบเล็งดาวฤกษ์(solar sidereal year)=6,066,217,320 วันธรรมดา หรือสุรทิน (solar day)=6,162,645,630 ดิถี หรือจันทรทิน (lunar day)=96,428,310 ดิถีกษัยหรือ วันอูนราตร์=205,421,521 เดือนขึ้นแรม หรือ จันทรมาส (lunar month)=199,296,000 เดือนพระอาทิตย์ หรือสุริยมาส หรือราศี (solar month)=222,029,521 เดือนจันทรคติแบบเล็งดาวฤกษ์(sidereal month)=6,125,521 อธิกมาส (adhika maasa)=3,219,690 อธิกวาร (adhika vaara)=7,262,789 ปกติมาสปกติวาร (pakati ~).โดยปีจ.ศ.0 ตกหรคุณ 373/800มาสเกณฑ์0 ตกหรคุณ -650/703และอธิกมาส 0 ตกหรคุณ -282856310/6125521 .รอบยุคดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ให้นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักโหราศาสตร์ นักปฏิทิน นักโบราณคดีฯลฯ ไม่หยิบกันคนละอย่างสองอย่างคนละตำราจะได้คุยกันกรอบค่าเดียวกันสักทีที่ทั้งมีความสำคัญคือความสอดคล้องตามปฏิทินไทยในอดีตที่เป็นมาครับ
ภูริ - 1 มิถุนายน พ.ศ.2552 00:00น. (IP: 115.67.143.129)

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
ขออภัยเจ้าของเวบข้างบนเขียนเป็นบทความไว้ครับเป็นอีกเเง่มุมหนึ่งที่แปลกดีเป็นไปตามกรอบในสุริยยาตร.เท่าที่เห็นมายาวนานเด็กสมัยใหม่พอเจอสุริยยาตรเป็นจอดโดยมากเลยมักพลิกไปเอาตัวกรอบอื่นมาคิดทำให้ไม่สอดคล้องปฏิทินที่ใช้กันมาค่าข้างต้นที่คัดมาให้ไว้ครับเผื่อใครที่จะลองเล่นตัวเลขตามในสุริยยาตรบ้างก็สามารถหยิบหารอัตราส่วนต่างๆได้เลยครับ โดยไม่ละเลยค่าเริ่มต้น


ภูริ - 28 พฤษภาคม พ.ศ.2552 19:44น. (IP: 115.67.71.134)

ความคิดเห็นที่ 5
don’t buy puts ahead of a long weekend.replica tag heuer carrera watch http://www.watchheuer.ru/replica-tag-heuer-carrera-c-34.html


replica tag heuer carrera watch (zbipsdsbdr-at-gmail-dot-com) - 25 กันยายน พ.ศ.2559 02:52น. (IP: 58.62.234.89)