เกี่ยวกับมูลนิธิฯ

อาจารย์ผู้ทรงเกียรติ

อาจารย์ผู้ทรงเกียรติ

อาจารย์เอื้อ บัวสรวง

อาจารย์เอื้อ บัวสรวง เป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสมาคมโหรแห่งประเทศไทย เปรียบประดุจเสาชัยต้นหนึ่งที่ค้ำยันสมาคมฯ ไว้ จนอยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้ บุญคุณที่ท่านมีต่อสมาคมฯ ผู้รู้เรื่องทุกคนไม่เคยลืม ท่านไม่เคยทอดทิ้งสมาคมฯ ไม่ว่าในยามดีมีสุขหรือในยามทุกข์ยากเข็ญ ประชุมใหญ่รวมถึงงานสำคัญอื่นๆ ของสมาคมฯ ท่านจะมาเป็นกำลังใจให้ทุกครั้ง

อาจารย์เอื้อ บัวสรวง เป็นประธานมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ คนแรก

อาจารย์เอื้อ บัวสรวง เกิดวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2457 ที่จังหวัดสิงห์บุรี บิดาชื่อ นายกุล บัวสรวง มารดาชื่อ นางแอบ บัวสรวง มีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม 4 คน การศึกษาขั้นสูงสุด เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษากฎหมายสมาคมโหรแห่งประเทศไทย วัดบวรนิเวศ พ.ศ.2515 จนถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2542

อาจารย์เอื้อ บัวสรวงได้ถึงแก่กรมด้วยอาการสงบ เนื่องจากโรคหัวใจและตับล้มเหลว รวมสิริอายุ 84 ปี 2 เดือน 2 วัน

หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์เอื้อ บัวสรวง

อาจารย์ วรพรรณ เลาหะวิไลย

อดีตนายกสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ , อดีตเลขานุการมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในสังฆราชูปถัมภ์

นางสาววรพรรณ เลาหะวิไลย เกิดวันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2471 จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรีคุณพ่อถนิม คุณแม่บุญนาค มีพี่น้อง 6 คน ตามลำดับดังนี้

1. นางสาววรพรรณ เลาหะวิไลย
2. นายยุทธ เลาหะวิไลย
3. นายแพทย์อาภรณ์ เลาหะวิไลย
4. นางสรรพพร วิชิตะกุล
5. นายเหม เลาหะวิไลย

ชีวิตเยาว์วัยมีความตั้งใจ มานะพยายามด้านการเรียน จิตใจเที่ยงตรง มีศีลธรรม

วุฒิการศึกษา

- โรงเรียนวุฒิศึกษา จังหวัดธนบุรี
- โรงเรียนเบญจมราชาลัย
- วิทยาลัยพณิชยการพระนคร
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพณิชยศาสตร์และการบัญชี
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 2

หลังจบการศึกษารับราชการครูมาโดยตลอด (โดยมีการย้ายไปสถาบันต่างๆหลายสถาบัน จนเกษียณที่พณิชยการธนบุรี , ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสถาบันเทคโนโลยีฯ)

ความเป็นมาของการเข้ามาอยู่ในวงการโหร

กลางปี พ.ศ. 2516 (ระหว่างทำงานเป็นอาจารย์อยู่ที่สถาบันวิทยาเขตเทคโนโลยีเทเวศร์) ได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมโหรแห่งประเทศไทย โดยเริ่มเรียนโหรศาสตร์ไทยกับอาจารย์ เชย บัวก้านทองเป็นคนแรก ต่อมาได้เรียนกับอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ , อาจารย์ประทีป อัครธีรานนท์ (สอนตัวเลข 7 ตัว) และอาจารย์บุญสม สว่างศรี (สอนลายมือ)

ปี พ.ศ. 2517 อาจารย์บุญสมได้ชักชวนให้เป็นกรรมการบริหารสมาคมฯ ตำแหน่งเหรัญญิก (ขณะนั้น พันตำรวจโทประสิทธิ์ วัละยูวะ เป็นนายกฯ) และอีก 2 ปีถัดไป ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เลขาธิการ อีกตำแหน่งหนึ่งจนถึงสิ้นปี พ.ศ.2536

ปี พ.ศ. 2537 สมาคมมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ เนื่องจาก พันตำรวจโทประสิทธิ์ ถึงแก่กรรม (8 ธ.ค. 2536) ต้องมีการเลือกตั้งนายกฯคนใหม่ ซึ่งในที่ประชุมมีผู้เสนอให้อาจารย์วรพรรณ เลาหะวิไลย ลงสมัครแข่งขัน ในที่สุดก็ได้เสียงรับรองจากสมาชิกฯลงมติเป็นเอกฉันท์ ให้ได้รับเลือกเป็นนายกฯคนใหม่

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ.2537 ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช เนื่องในวันประสูติ ทรงรับสั่งให้ตั้งมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในสังฆราชูปถัมภ์ขึ้น เพื่อความมั่นคงและทำประโยชน์ให้สังคม ครั้งนั้นประทานทุนให้ก้อนหนึ่งประมาณสามหมื่นบาท

และในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ได้จัดตั้งเป็นองค์กรนิติบุคคลตามกฎหมายชื่อ “มูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์” ในครั้งได้ท่าน “อาจารย์เอื้อ บัวสรวง” เป็นประธานมูลนิธิฯคนแรก อาจารย์วรพรรณได้รับตำแหน่งเป็นเลขานุการมูลนิธิ กระทั่งปี พ.ศ. 2544 ได้แต่งตั้งให้ “อาจารย์อารี สวัสดี” เป็นประธานมูลนิธิฯ โดยอาจารย์วรพรรณยังคงรับตำแหน่งเป็นเลขานุการให้มูลนิธิฯ จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2548 จึงขอลาออกเนื่องจากสุขภาพไม่แข็งแรง คณะกรรมการมูลนิธิฯจึงเห็นสมควรแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์จนถึงวาระสุดท้าย

อาจารย์วรพรรณ เลหะวิไลยจึงอยู่ในตำแหน่งนายกสมาคมโหรแห่งประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2537 ถึง พ.ศ.2543 และอยู่ในตำแหน่งเลขานุการมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในสังฆราชูปถัมภ์ ตั้งแต่ พ.ศ.2539 ถึง พ.ศ.2548

ต่อมาร่างกายเริ่มทรุดโทรมลงเรื่อยๆ เข้าออกโรงพยาบาลหลายสิบครั้ง จนถึงเวลา 02.30 นาฬิกาของวันที่ 18 ตุลาคม 2551 โรคหัวใจกำเริบมีอาการแน่นหน้าอก ญาติได้นำส่งโรงพยาบาล แต่ในระหว่างทางมีอาการเกร็งแน่นหน้าอก และเสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล สิริรวมอายุได้ 80 ปี 1 เดือน 8 วัน

อาจารย์วรพรรณ เลาหะวิไลย รับราชการเป็นครูในสถาบันต่างๆด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและวิริยะอุตสาหะตลอดชีวิตการรับราชการ และเมื่อมาทำงานในสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์และมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในสังฆราชูปถัมภ์ อาจารย์ได้อุทิศตนในการทำงานทั่งร่างกายและจิตใจ จนเป็นที่ยอมรับของสมาชิกและมีลูกศิษย์มากมายที่ได้รับการอบรมสั่งสอน ในวิชาทางโหราศาสตร์จากอาจารย์ และในบั้นปลายของชิวิตก็ยังทำความดี และทำบุญทำทานเสมอมามิได้ขาด

ขอดวงวิญญาณของอาจารย์วรพรรณ เลาหะวิไลย จงสถิต ณ สรวงสวรรค์ตลอดกาลนานเทอญ

อาจารย์ สุถิรา ประภาพานิชย์

อาจารย์สุถิรา ประภาพานิชย์ เป็นอาจารย์สอนโหวงเฮ้งตั้งแต่สมัยอยู่สมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จนกระทั่งมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 อาจารย์สุถิรา ประภาพานิชย์ ซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิฯและเป็นอาจารย์สอนโหงวเฮ้งที่มูลนิธิฯ แห่งเดียวได้ดำเนินมาจนถึงวาระสุดท้าย ความใจสู้เมื่อถึงกำหนดเปิดสอนก็ยังบอกลูกสาวว่าให้มาส่งแม่ที่มูลนิธิฯ ความตั้งใจจะมาสอนแต่สังขารไม่อำนวย

ความเจ็บป่วยทำให้ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2554 เรื่อยมาจนกระทั่งถึงวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2554 เวลาประมาณเกือบ 01.00น.อาจารย์สุถิรา ประภาพานิชย์ ก็ละสังขารไปอย่างสงบ

อาจารย์พันเอกปรีชา แดงบุบผา (ปรมาจารย์ลายมือ)

พันเอก ปรีชา แดงบุบผา ท.ช.,ท.ม.

เกิดวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2466 , มรณะ 30 สิงหาคม พ.ศ.2555 สิริอายุรวม 89 ปี 3 เดือน

พระราชทานเพลิงศพวันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2555 ณ ฌาปนสถานกองทับบก วัดโสมนัสวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

พันเอก ปรีชา แดงบุบผา ท.ช.,ท.ม. เกิดวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2466 ที่ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของคุณพ่อสุขกับคุณแม่ผาด แดงบุบผา สมรสกับนางบุญเรือง แดงบุบผา(วงศ์สวัสดิ์) มีบุตรธิดารวม 5 คน คือ

1. นางปทุมมาศ พูลทรัพย์(แดงบุบผา)
2. นางสาวอัจฉรา แดงบุบผา
3.นายปราโมทย์ แดงบุบผา
4.นางสาววิภาพร แดงบุบผา
5. นางธนันพัชร์ แดงบุบผา

ประวัติการศึกษา

- โรงเรียนวัดทรงธรรม ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

- เตรียมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง

- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง (ตมธก.รุ่น 4)

- สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

ประวัติการทำงาน

ยศทหาร

- ว่าที่ร้อยตรี
- ร้อยตรี
- ร้อยโท
- ร้อยเอก
- พันตรี
- พันเอก
- พันเอก (อัตราพันเอกพิเศษ)

ตำแหน่ง

- เข้ารับราชการเป็นเสมียน ในกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง(ระหว่างศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง)

- ลาออกจากราชการกระทรวงการคลัง เพื่อเข้ารับราชการในกรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม(จบ.ตมธก.รุ่น 4)

- เข้ารับราชการ เป็นเสมียนในแผนกที่ 1 กรมพระธรรมนูญ (พ.ศ.2494)

- เป็นอัยการสำรอง ศาลทหารกรุงเทพมหานคร (พ.ศ.2494)

- เป็นอัยการผู้ช่วยศาลทหารกรุงเทพมหานคร (พ.ศ.2496)

- ประจำกองอัยการทหาร (พ.ศ.2496)

- เป็นนายทหารพระธรรมนูญ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ (พ.ศ.2498)

- นายทหารพระธรรมนูญ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 11 รักษาพระองค์ (พ.ศ.2500)

- นายทหารพระธรรมนูญ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ (พ.ศ.2501)

- อัยการศาล จังหวัดทหารบก พิษณุโลก (พ.ศ.2502)

- นายทหารพระธรรมนูญ ศูนย์การทหารม้า

- นายทหารพระธรรมนูญ กรมการทหารสื่อสาร

- นายทหารพระธรรมนูญ กรมยุทธศึกษาทหารบก

- นายทหารพระธรรมนูญ มณฑลทหารบกที่ 2

- เป็นตุลาการพระธรรมนูญ ฝ่ายศาลทหารกรุงเทพ กรมพระธรรมนูญ (อัตราพันเอก)

- เป็นทหารพระธรรมนูญ ฝ่ายศาลทหารกรุงเทพ

- เป็นนายทหารพระธรรมนูญ กรมยุทธศึกษาทหารบก

- ตุลาการพระธรรมนูญ ฝ่ายศาลทหารกลาง (อัตราพันเอก)

- เป็นตุลาการพระธรรมนูญ ฝ่ายศาลทหารกลาง (อัตราพันเอกพิเศษ)

ตำแหน่งพิเศษ

- เป็นตุลาการศาลทหารกรุงเทพ และเป็นตุลาการพระธรรมนูญด้วย (ตั้งแต่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2516)

- มีบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้เป็นตุลาการศาลทหารกลาง และเป็นตุลาการพระธรรมนูญด้วย (ตั้งแต่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2521)

- เป็นตุลาการศาลทหารกรุงเทพ และเป็นตุลาการพระธรรมนูญด้วย (ตั้งแต่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2524)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

- เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
- จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
- จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
- ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
- ตริตำรณ์ช้างเผือก
- เหรียญจักรมาลา
- ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
- ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก

งานพิเศษ

- เป็นกรรมการ และ สอนวิชาหัตถศาสตร์(ลายมือ) ที่สมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์

- เป็นรองประธานมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ และเป็นอาจารย์สอนวิชาหัตถศาสตร์(ลายมือ)

ที่มา : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ