เรื่องที่ควรรู้ ดูเหมือนจะเข้าใจ

ในกรณีไม่มีคริสตศักราช 0 (ศูนย์) ลองพิจารณาร่วมกันในเรื่อง ทศวรรษ ศตวรรษ สหัสวรรษ ถึงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด หากสิ่งใดมีความต่อเนื่องไม่สิ้นสุด จุดสิ้นสุดกับจุดเริ่มต้นคือจุดเดียวกัน ขอยกตัวอย่าง วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เวลา ๒๓ นาฬิกา ๕๙ นาที ๕๙ วินาที เวลาผ่านไป ๑ วินาที ก็จะเป็นวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เวลา ๒๔ นาฬิกา ๐๐ นาที ๐๐ วินาที แปลว่า สิ้นสุดวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ แล้ว และนั่นคือ วันเริ่มต้นของวันถัดไป คือวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เวลา ๐ นาฬิกา ๐๐ นาที ๐๐ วินาที ดังนี้จุดสิ้นสุดวันตรงหน่วยเวลาเล็กระดับวินาทีก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของวันรงหน่วยเวลาเล็กระดับวินาทีที่ศูนย์วินาที เช่นกัน

จุดดับกับจุดเกิดเป็นจุดเดียวกัน หากสิ่งนั้นยังมีชีวิตอยู่ จุดเหล่านี้มาจาก "กาละ" หรือ "กาลเวลา" ซึ่งเป็นอมตะ เพราะเวลามีทิศทางเดียวต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด แต่จุดสิ้นสุดของเวลาหนึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของเวลาต่อไป เป็นดังนี้เสมอ เป็นอมตะ ดังนั้น

ปี ๑๙๙๙ เป็นปี ทศวรรษที่ ๑๐ หรือ ทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ ๒๐ แห่งสหัสวรรษที่ ๒

ปี ๒๐๐๐ เป็นปี สิ้นสุด ทศวรรษที่ ๑๐ ของศตวรรษที่ ๒๐

ปี ๒๐๐๐ เป็นปี สิ้นสุด ทศวรรษที่ ๒๐ และ

ปี ๒๐๐๐ เป็นปี สิ้นสุด สหัสวรรษที่ ๒

ปี ๒๐๐๑ เป็นปี เริ่มต้น ทศวรรษที่ ๑ ของศตวรรษที่ ๒๑

ปี ๒๐๐๑ เป็นปี เริ่มต้น ศตวรรษที่ ๒๑ และ

ปี ๒๐๐๑ เป็นปี เริ่มต้น สหัสวรรษที่ ๓

ปี ๓๐๐๐ เป็นปี สิ้นสุด ทศวรรษที่ ๑๐ ของศตวรรษที่ ๓๐

ปี ๓๐๐๐ เป็นปี สิ้นสุด ศตวรรษที่ ๓๐ และ

ปี ๓๐๐๐ เป็นปี สิ้นสุด สหัสวรรษที่ ๓

เมื่อพิจารณาในระดับเวลาเป็นหน่วยวินาที ถึงการสิ้นสุดและการเริ่มต้นของกาลเวลา

ปี ค.ศ.

ทศวรรษที่

ปีคริสตวรรษ

สหัสวรรษ

๑ - ๑๐

๑๑ - ๒๐

๙๑ - ๑๐๐

๑ - ๑๐๐

๑๐๑ - ๒๐๐

๕๐๑ - ๖๐๐

๙๐๑ - ๑๐๐๐

๑๐๐๑ - ๑๑๐๐

๑๕๐๑ - ๑๖๐๐

๑๘๐๑ - ๑๙๐๐

๑๙๐๑ - ๒๐๐๐

๒๐๐๑ - ๒๑๐๐

๒๘๐๑ - ๒๙๐๐

๒๙๐๑ - ๓๐๐๐

๑๐

๑๐

๑๑

๑๖

๑๙

๒๐

๒๑

๒๙

๓๐

ค.ศ.๑

ค.ศ.๑๐๐๐

ค.ศ.๑๐๐๑

ค.ศ.๒๐๐๐

ค.ศ.๒๐๐๑

ค.ศ.๓๐๐๐

เริ่มสหัสวรรษที่ ๑

สิ้นสุดสหัสวรรษที่ ๑

เริ่มสหัสวรรษที่ ๒

สิ้นสุดสหัสวรรษที่ ๒

เริ่มสหัสวรรษที่ ๓

สิ้นสุดสหัสวรรษที่ ๓

ตารางคริสตศักราช - ทศวรรษ - ศตวรรษ - สหัสวรรษ

๓๑ ธันวาคม ๑๙๙๙, ๒๔:๐๐:๐๐

สิ้นสุด ปี ๑๙๙๙

สิ้นสุด วัน

สิ้นสุด เดือน

สิ้นสุด ชั่วโมง : นาที : วินาที

ปี ๑๙๙๙ เป็นปีทศวรรษสุดท้าย ของศตวรรษที่ ๒๐ แห่งสหัสวรรษที่ ๒

= ๑ มกราคม ๒๐๐๐, ๐๐:๐๐:๐๐

เริ่ม วินาที : นาที : ชั่วโมง

เริ่ม วัน, เดือน, ปี ๒๐๐๐

ปี ๒๐๐๐ เป็นปีสุดท้าย

ทศวรรษที่ ๑๐ ของ ศตวรรษที่ ๒๐ แห่งสหัสวรรษ

๓๑ ธันวาคม ๒๐๐๐, ๒๔:๐๐:๐๐

สิ้นสุด วินาที : นาที : ชั่วโมง

สิ้นสุด วัน,เดือน,ปี ๒๐๐๐

ปี ๒๐๐๐ เป็นปีสิ้นสุดทศวรรษที่ ๑๐ ของศตวรรษ๒๐ สิ้นสุดศตวรรษที่ ๒๐ และสิ้นสุดสหัสวรรษที่ ๒

= ๑ มกราคม ๒๐๐๑, ๐๐:๐๐:๐๐

เริ่ม วินาที : นาที : ชั่วโมง

เริ่ม วัน, เดือน, ปี ๒๐๐๑

เริ่มทศวรรษแรก(ทศวรรษที่ ๑) ของศตวรรษที่ ๒๑
เริ่มศตวรรษที่ ๒๑ เริ่มสหัสวรรษที่ ๓

ปี ๒๐๐๐

แย่งแข่งขันสหัสวรรษในขณะสหัสวรรษยังไม่ได้เริ่มต้น หนังสือนิตยสารชั้นนำของโลก ชื่อ Astronomy ฉบับเดือนสิงหาคม ๑๙๙๙ พิมพ์ในสหรัฐอเมริกา จัดทัศนาจร The Millennium Tour หรือทัวร์สหัสวรรษไป New Zealand คณะบรรณาธิการหนังสือดังกล่าวประกาศเชิญชวนไปร่วมท่องเที่ยวสหัสวรรษที่ New Zealand และ Australia ส่งท้ายปีเก่า ๑๙๙๙ และรับขวัญปีใหม่ ๒๐๐๐ ซึ่งเป็นแห่งแรกของโลกที่จะได้เห็นแสงอรุณแรกของปี ๒๐๐๐

ในรายละเอียดของโฆษณาดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุผลนอกจากแปลความได้ว่า New Zealand อยู่ใกล้กับเส้นแบ่งวัน (International Date Line) มากที่สุด เส้นนี้เป็นเส้นแวง ๑๘๐ องศา ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเส้นแวง ๐ องศา (Prime meridian) ผ่าน Greenwich, England และในเดือน ธันวาคม มกราคม เป็นช่วงที่โลกหันด้านใต้ของโลกเข้าหาดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วันที่ ๒๑ หรือ ๒๒ ธันวาคมของทุกปี สำหรับปี ๑๙๙๙ เดือนธันวาคมนี้ตรงกับเวลา GMT. ๗ นาฬิกา ๔๕ นาที ๒๑ วินาที ของวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๑๙๙๙

ดังนั้น เดือนธันวาคม มกราคม เป็นเดือนแห่งสงกรานต์ ของ New Zealand ซึ่งจะร้อนจัด และได้ข่าวว่าสำนักข่าว CNN ก็จะไปรับอรุณแรกแห่งปี ๒๐๐๐ เช่นเดียวกัน

เมืองไทยก็ไม่น้อยหน้า เมื่อเวลา ๐๐ นาฬิกา ๐๐ นาที ๐๐ วินาที ที่ Greenwich, England เป็นเวลามาตรฐานของโลก ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๐๐๐ นั่นคือ เวลา ๗ นาฬิกา ๐๐ นาที ๐๐ วินาที ที่เส้นแวง ๑๐๕ องศา ที่จังหวัดอุบลราชธานีประเทศไทย ดังนั้นแสงแรกของโลกหากประเทศใดที่เห็นได้ตามเวลานี้มีที่ใดได้บ้าง ขอสมมุติฐานอย่างง่ายที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก เวลา ๐๖.๐๐ นาฬิกา ตามปรากฏการณ์จริงซึ่งไม่ใช่เวลาที่มาตรฐานของแต่ละประเทศตกลงกัน ดังนั้น ประเทศที่เห็นดวงอาทิตย์ขึ้นตอน ๖ โมงเช้า คือ ประเทศที่มีเส้นแวง ๖ ช.ม. x ๑๕ องศาตะวันออก = ๙๐ องศาตะวันออก ซึ่งมีประเทศในย่านตะวนออกเฉียงใต้ในช่วง Malaysia Thailand Burma India และในการพิจารณาดวงอาทิตย์ขึ้นแสงแรก แสงอรุณทางดาราศาสตร์ ทางการเดินเรือ มีข้อพิจารณาแตกต่างกัน ข้อยุติจะตกลงกันได้เมื่อทำความตกลงกัน ยกตัวอย่างเช่น ไทยใช้เวลามาตรฐานจาก Greenwich เป็นบวก ๗ ชั่วโมง Indiaใช้เวลามาตรฐานบวก ๕ ชั่วโมง ๓๐ นาที ฉะนั้น Burma น่าจะมีเวลามาตรฐานบวก ๖ ชั่วโมง ก็น่าจะเห็นแสงแรกของโลก เวลา ๐๐ นาฬิกา ที Greenwich ถ้าเป็นจริงชายแดนไทยด้านตะวันตกจะเห็นแสงแรกร่วมกับพม่าด้วย

เมื่อไม่กี่วันมานี้ จังหวัดสงขลารับกระแสสหัสวรรษเข้าไปแล้วโดย ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๒ จะอำลาตะวันและรับอรุณกับตะวันใหม่ ๑ มกราคม ๒๕๔๓ ที่ชายหาดทะเลยสาบสงขลาด้วยเช่นกัน ททท.กรุงเทพฯรัฐบาลไทยคนไทยว่าอย่างไรครับ

เมื่อ ๕๐๐๐ ปีมาแล้ว ในยุคนั้นดวงอาทิตย์ยังหมุนรอบโลก ขึ้นตอนเช้าทางตะวันออก ตกตอนเย็นทางตะวันตก โดยโลกอยุ่นิ่งๆ อาทิตย์ จันทร์ และดวงดาวทั้งหลาย ต่างหมุนไปรอบๆโลก

เมื่อประมาณ ๔๕๐ ปีที่แล้ว Copernicus (๑๔๗๓ - ๑๕๔๒) ประกาศว่า อาทิตย์นิ่ง โลก และดาวเคราะห์ต่างๆซึ่งเป็นบริวารต่างหมุนรอบดวงอาทิตย์ ส่วนดวงจันทร์ก็หมุนรอบโลกด้วย

หน่วยในการนับวัน คือ กลางวันถึงกลางคืน รวมกันนับ ๑ วัน ในอดีตจะนับอรุณหนึ่งถึงอรุณหนึ่งนับ ๑ วัน ปัจจุบันในทางสากลจะนับเที่ยงคืนหนึ่งถึงเที่ยงคืนหนึ่งนับ ๑ วัน ส่วนใหญ่จะเป็นชนชาติตะวันออก ส่วนทางตะวันตกมีหลายประเทศนับเที่ยงวันถึงเที่ยงวันหนึ่ง นับ ๑ วัน ทางอาหรับจะนับสนทยาหนึ่งถึงอีกสนทยาหนึ่ง นับ ๑ วัน ปัจจุบันในทางสากลจะนับเที่ยงคืนหนึ่งถึงเที่ยงคืนหนึ่ง นับ ๑ วัน มีความสะดวกในการวัดเวลา ตรวจสอบได้จากดาว และช่วงเปลี่ยนวันใช้ตอนเที่ยงคืน ผู้คนส่วนใหญ่จะนอนพักผ่อน การเปลี่ยนวันในช่วงกลางคืนจะทำให้ไม่มีความสับสนในทางนิติกรรมในชีวิตประจำวัน ลองนึกถึงตอนเปลี่ยนวันที่ตอนเที่ยงวันดูบ้างน่าจะมีความสับสนกันพอสมควร

สัปดาห์นำมาใช้ตั้งแต่สมัยบาบิโลน ซึ่งอิทธิพลดวงจันทร์หรือปรากฏการณ์ของดวงจันทร์จาก เพ็ญหนึ่งถึงเพ็ญหนึ่ง หรือจันทร์กึ่ง แล้วกลับมาจันทร์กึ่งอีกครั้งหนึ่ง นับได้ประมาณ ๒๙ วันครึ่ง เป็นปรากฏการณ์ที่เห็นได้ทั่วถึงทุกคน จากจันทร์ดับถึงจันทร์กึ่งแรก จันทร์กึ่งแรกถึงจันทร์เพ็ญ จันทร์เพ็ญถึงจันทร์กึ่งหลัง และจันทร์กึ่งหลังถึงจันทร์ดับ แต่ละช่วงประมาณ ๗ วัน กว่าๆนิดๆ ความนิยมมาสรุปตรงกันในหมวดของเดือน คือ ๗ วัน หรือเรียกว่าสัปดาห์ ปัจจุบัน ๑ ปี มี ๕๒ สัปดาห์ สัปดาห์ในอดีตมีความพยายามในการจัดหน่วยของเดือนให้หมวดหนึ่งมี ๔ วันบ้าง ๕ วันบ้าง ๖ วันบ้าง ๗ วันบ้าง จนถึง ๑๐ วันบ้าง สุดท้ายมาลงตัวที่ ๗ วัน ด้วยเหตุผลทางศาสนา จันทร์บนฟ้าชื่อวาร (วันในสัปดาห์) ให้นับอย่างมั่นคงด้วยชื่อดาวฤกษ์ลาวเคราะห์ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าดังนี้ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ และเสาร์

.....เสถียรภาพของวันกับวาร ค่อนข้างมีความมั่งคงมากในการตรวจสอบอดีตและอนาคตเพราะวันที่สะสมกันมาวันต่อวัน นับแบบไม่ขาดสาย โดยไม่แบ่งปีเดือนใดๆมาทางวิชาการว่า &:::::ldquo:หรคุณ&:::::rdquo: จากปฏิทินจูเลียต ซีซ่า เรียก &:::::ldquo:หรคุณจูเลี่ยน&:::::rdquo: เป็นต้น การกำหนดว่าหรคุณจูเลี่ยน นับ ๐ ตั้งแต่ ๑ มกราคม ก่อนคริสตศักราช ๔๗๑๓ ปี

.....เดือนทางจันทรคติ นับได้ ๒๙.๕ วัน คือ นับจากเพ็ญหนึ่งถึงเพ็ญหนึ่ง หรือ นับจากจันทร์ดับหนึ่งถึงจันทร์ดับหนึ่งก็ได้

.....เดือนทางสุริยคติ นับได้จากการสังเกตที่ อาทิตย์โคจรไปยังกลุ่มดาวฤกษ์ที่ จันทร์ ดาวเคราะห์ต่าง โคจรผ่าน นับได้ ๑๒ กลุ่ม เรียก &:::::ldquo:กลุ่มดาวจักรราศี&:::::rdquo: ตั้งแต่ราศี เมษ พฤษภ มิถุน...กุมภ์ มีน รวม ๑๒ กลุ่ม หรือ เรียกว่ากลุ่มดาวนักษัตรก็เรียก

.....ความพยายามแบ่งเดือนใน ๑ ปี มีตั้งแต่ ๑๐ เดือนบ้าง ๑๒ เดือนบ้าง ๑๓ เดือนบ้าง มาสรุปได้ คือ ๑ ปีมี ๑๒ เดือน ทางปีสุริยคติ และ ๑ ปี มี ๑๒ เดือน หรือ ๑๓ เดือน ทางปีจันทรคติ ทั้งนี้คือความพยายามที่จะผสมกันระหว่างระบบ จันทรคติ กับ สุริยคติ เพื่อนำมาใช้กับทางศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม

ลองพิจารณาตัวเลขง่ายๆ ๑ เดือนจันทรคติ มี ๒๙.๕ วัน คูณ ๑๒ เดือน ดังนั้น ๑ ปี จันทรคติ มี ๓๕๔ วัน น้อยกว่าปีทางสุริยคติ ๓๖๕ วัน อยู่ ๑๑ วัน ในวันที่น้อยกว่า ๑๑ วันนี้ หากสะสมไปเรื่อยๆก็จะมีความพอดีที่จะนำปฏิทินทั้งสองระบบนี้มาใช้ร่วมกัน เมื่อจำนวนปีจำนวนหนึ่งที่ทำให้ปฏิทินสองระบบใช้ร่วมกันได้ เพื่อตอบสนองต่อการกำหนดวันพิธีทางศาสนาและประเพณี โดยมีการเพิ่มวันในระบบปฏิทินสุริยคติในปีที่เป็นเงื่อนไข วันที่เพิ่มเรียก &:::::ldquo:วันอธิกสุรทิน&:::::rdquo: อธิก = มาก สุรทิน = อาทิตย์ ทิน = วัน ในการเพิ่มเดือนในระบบปฏิทินจันทรคติเรียก &:::::ldquo:อธิกมาส&:::::rdquo: อธิก = มาก มาส = เดือน ปฏิทินจันทรคติของไทยเพิ่มเดือนหลังเดือน ๘ เรียกว่า &:::::ldquo:เดือน ๘ หลัง&:::::rdquo: ปีนั้นจะมี ๑๓ เดือนจันทรคติ

ในการเพิ่มวันในทางจันทรคติ เรียก &:::::ldquo:อธิกวาร&:::::rdquo: อธิก = มาก วาร = วัน จะเพิ่มที่เดือน ๗ ตรงแรม ๑๕ ค่ำ เดือนนั้นจะมี ๓๐ วัน ปรกติปฏิทินจันทรคติของไทย เดือนเลขคี่ เช่น อ้าย ,๓,๕,๗,๙,๑๑ จะมีข้างขึ้น
๑๕ ค่ำ ข้างแรม ๑๔ ค่ำ รวม ๒๙ วัน ปีใดมีอธิกวารเดือน ๗ จะมี ๓๐ วัน คือ มีข้างขึ้น ๑๕ วัน และมีข้างแรม อีก ๑๕ ค่ำ เดือนคู่ คือ เดือนยี่ ,๔,๖,๘,๑๒ จะมีข้างขึ้น ๑๕ ค่ำ ข้างแรม ๑๕ ค่ำ รวมมี ๓๐ ค่ำ หรือ ๓๐ วัน แต่ระบบปฏิทินจันทรคติของจีนแตกต่างไปจากของไทย เช่น เดือนเล็กมี ๒๙ วัน เดือนใหญ่มี ๓๐ วัน การเพิ่มเดือน เพิ่มวัน การกำหนดเดือนเล็ก เดือนใหญ่ แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงจากของไทย ทำนองเดียวกันปฏิทินจันทรคติของพม่า,ลาว,เขมร,ญวน,อินเดีย แตกต่างกันขึ้นอยู่กับองค์ความรู้ การยอมรับ ศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละชาติ ในหลายประเทศยังมีระบบปฏิทินจันทรคติหลายระบบในประเทศเดียวกันไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย และไม่ยกเว้นแม้ประเทศไทย เรื่องนี้ยังเป็นปัญหาของแต่ละชาติจนกระทั่งปัจจุบันนี้

ความพยายามของมนุษย์อยู่ที่การจัดการจุดทศนิยมของวัน หรือเดือน หรือปี ให้เป็นเลขจำนวนเต็ม ซึ่งไม่ใช่ง่ายและยิ่งนำระบบปีจันทรคติ กับปีสุริยคติมาร่วมกัน แล้วใช้ ยิ่งยากขึ้นไปอีก จะสังเกตเห็นว่าความนิยมลดลงไปๆ จนเหลือเป็นประเทศ เป็นชุมชนแล้ว

จากการศึกษาตัวเลขการโคจรที่เป็นรอบของจันทร์และรอบอาทิตย์ มีการพัฒนาตั้งแต่หยาบๆจากการสังเกตุฤดูกาลว่ามี ๔ ฤดู ฤดูละ ๓ เดือน อียิปต์โบราณเฝ้ามองดาว Sirius (ดาวสุนัข) ไทยเรียกดาวโจร ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ดวงที่สว่างที่สุดในท้องฟ้า (ยกเว้นดวงอาทิตย์) ขึ้นทางทิศตะวันออก แล้วมีอาทิตย์ขึ้นตามมา แม่น้ำไนล์ก็จะเอ่อขึ้นท่วมฝั่ง เป็นดังนี้ จึงนับต่อไป ปรากฏการณ์อย่างนี้เป็นทุกๆ ๓๖๕ วัน บางปีก็ไม่เป็นไปตามนี้เพราะช้าไป ๑ วัน สังเกตต่อไป พบว่าปีหนึ่งจะมี ๓๖๕ วัน ๑/๔ วัน ยุคนั้นทศนิยมยังไม่มีใช้แม้กระทั่งถึงยูคลิคก็ยังไม่มีทศนิยมใช้

แต่ชาวมายาเก่งกว่าทั้งๆที่ ปีหนึ่งมี ๑๘ เดือน ๑ เดือน มี ๒๐ วัน ดังนั้น ๑ ปี มี ๓๖๐ วัน และมีวิธีเพิ่มวันพิเศษเป็นวันแห่งหายนะอีก ๕ วัน รวมเป็น ๓๖๕ วัน รวมทั้งอีก ๑/๔ วัน แทรกเข้าไปในปฏิทินอีก ว่ากันว่าแม่นยำกว่าปฏิทินที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันเสียอีก

ปฏิทินที่เราใช้ในปัจจุบันเริ่มที่โรมันประมาณ ๒๕๐๐ ปีที่ผ่านมา ตอนนั้นโรมันมี ๑๐ เดือน นับเดือน ๑,๒,๓...๘,๙,๑๐ ๑ เดือน มี ๓๐ วันบ้าง ๓๑ วันบ้าง ๑ ปี มี ๓๐๔ วัน หายไป ๕๑ วัน ๑/๔ วัน การประกาศขึ้นวันใหม่ ปีใหม่ ขึ้นอยู่กับนักบวช Calendar มาจากคำว่า Kalend ในภาษากรีก แปลว่า ตะโกน และโรมันเรียกวันแรกนี้ว่า Calends ของต้นเดือนแบบโรมัน วันที่หายไปเป็นช่วงหน้าหนาว จึงไม่มีผลต่ออะไร จนกระทั่งตะโกนบอกวันเริ่มต้นของเดือนจะเป็นวันจ่ายภาษี เริ่มกิจกรรมต่างๆรวมไปถึงการแข่งขันกีฬา

ครั้นถึงยุคซีซ่าเถลิงอำนาจ ซีซ่าร์ทนความวุ่นวายสับสนของนักบวชนักดาราศาสตร์ในยุคนั้นไม่ไหว ในปีที่ ๔๖ ก่อนคริศตกาล ประกาศสถาปนาปฏิทินที่ให้สอดคล้องกับฤดูกาลให้มากที่สุด ให้ ๑ ปีมี ๑๒ เดือน เริ่มที่มกราคมถึงธันวาคม เดือนกุมภาพันธ์มี ๒๘ วัน ทุก ๔ ปี ให้มี ๒๙ วัน ส่วนเดือนอื่นๆมี ๓๐ วัน และ ๓๑ วัน ดังนั้น ๑ ปี มี ๓๖๕ วัน และ ๓๖๖ วัน และเปลี่ยนเดือนกรกฎาคมให้เป็นชื่อของตัวเอง คือ Juliua = July มี ๓๑ วัน

ต่อมา Augustus จักรพรรดิ์โรมันองค์ต่อมาจัดชื่อตัวเอง August = August มี ๓๑ วัน เช่นกัน เพื่อไม่ให้น้อยหน้า ใช้ปฏิทิน Augustus มาได้ประมาณ ๑,๕๐๐ ปี ฤดูกาลเริ่มผิดเพี้ยนมากขึ้น เดิมกำหนดให้ ๑ ปี มี ๓๖๕ วัน ๖ ชั่วโมง แต่ความจริงระยะต่อมา พบว่า ๑ ปีมี ๓๖๕ วัน ๕ ชั่วโมง ๔๘ นาที ๔๖ วินาที หรือ ๓๖๕.๒๔๒๑๙๙๙ วัน

Pope Gregory XIV (13) ประกาศสถาปนาปฏิรูปปฏิทินใหม่ขึ้นมาเพราะปฏิทินที่ใช้มาเวลาเกินมาปีละ ๑๑ นาที ดังนั้นเวลาที่เกินมาสะสมได้ถึง ๑๐ วัน การปฏิรูป สถาปนา ดังนี้

กล่าวคือ ปฏิทินของ Gregorian ไม่มีวันที่ ๕,๖,๗,๘,๙,๑๐,๑๑,๑๒,๑๓,๑๔ ในเดือนตุลาคม ๑๕๘๒

การตั้งกฎอธิกสุรทิน (เดือน กุมภาพันธ์ มี ๒๙ วัน) ดังนี้

หัวข้อ ๑ ปีอธิกสุรทิน เป็นปีที่ ๔ หารลงตัว

หัวข้อ ๒ ปีครบรอบคริสตศวรรษต้องหารด้วย ๔๐๐ ลงตัวถึงจะเป็นปีอธิกสุรทิน เช่น ปี ๑๖๐๐ ๒๐๐๐ ๒๔๐๐ เป็นต้น ดังนั้นปี ๑๗๐๐ ๑๘๐๐ ๑๙๐๐ ๒๑๐๐ ๒๓๐๐ ในปีเหล่านี้เดือนกุมภาพันธ์มี ๒๘ วัน

การยอมรับปฏิทิน Gregorian ในปีที่ Pope Gregory XIV สถาปนาปฏิทินขึ้นเมื่อปี ๑๕๘๒ คริสตจักร
โรมันคาทอลิคต่างยอมรับโดยทั่วไป บางประเทศมีการรับไปใช้ มีทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ในปี ๑๕๘๓ ประเทศที่ยอมรับมี Australia France Switzerland (บางเมือง)

England ยอมรับในปี ๑๗๕๒ เดือน กันยายน เปลี่ยนปฏิทินในเดือนนี้ จากวันที่ ๑, ๒ แล้วไปเป็นวันที่ ๑๔, ๑๕, ๑๖...วันหายไป ๑๑ วัน

Hungary ยอมรับเมื่อ ๑๕๘๗ เดือน ตุลาคม วันที่ ๒๒ วันต่อไปเป็นวันที่ ๑ เดือน พฤศจิกายน ทันที

Japan ยอมรับเมื่อปี ๑๘๗๓ มกราคม

Russia ยอมรับเมื่อ ๑๙๑๘ กุมภาพันธ์ วันที่ ๑ วันต่อมาคือวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์



#บทความมูลนิธิฯ #บทความโหราศาสตร์ #โหราศาสตร์ #ดาราศาสตร์