เว็บบอร์ด

กระทู้ ถามตอบโหราศาสตร์ พยากรณ์ศาสตร์

ปิดปรับปรุงชั่วคราว

อยากทราบความน่าจะเป็นของดวงชะตาครับ

คือผมมีความเห็นว่าเลข ๗ ตัว เนี่ย มันมีความเป็นไปได้ของดวงชะตาทั้งหมด ๓๔๓ ดวง (ถ้าจำไม่ผิดนะครับ) คือเริ่มตั้งแต่เกิดวัน ๑ เดือน ๑ ปี ๑ , วัน ๑ เดือน ๑ ปี ๒ ...

ถึงแม้จะมีการใช้เวลาเกิดเทียบตามลำดับยามกลางวันยามกลางคืน มันก็ยังเป็นวิธีการเรียงเลขแบบเดียวกันอยู่

แล้วทางโหราศาสตร์เนี่ยมีบอกไว้ไหมครับว่ามีความเป็นไปได้ของดวงชะตาประมาณเท่าไร ความเป็นไปได้ของโหราศาสตร์มีจุดสิ้นสุดไหมครับ เหมือนเข็มนาฬิกาที่เดินวนกลับมาที่เดิมอยู่ร่ำไป

ยังมีข้อสงสัยอีกประการหนึ่งครับที่ว่าโหราศาสตร์ก็ส่วนโหราศาสตร์ ส่วนการพยากรณ์อื่นๆ ก็ถือว่าไม่ใช่โหราศาสตร์ อันนี้จะเป็นการแบ่งแยกเกินไปไหมครับ ตามความเห็นของผมก็คือโหราศาสตร์ก็คือโหราศาสตร์ถูกต้องแล้ว แต่ศาสตร์อื่นๆ ก็มีชื่อเรียกเฉพาะตัวของศาสตร์นั้นอยู่แล้ว เช่น หัตถศาสตร์ palmistry ไพ่พยากรณ์ cartomancy คือผมเห็นว่าเหมือนเป็นการแบ่งแยก โดยเน้นให้โหราศาสตร์เด่นขึ้นมาอย่างไรก็ไม่รู้

ทั้งๆ ที่ศาสตร์ที่มีไว้ใช้ในการพยากรณ์ทุกแขนงต่างก็อาศัยหลักการเดียวกันคือความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่บังเอิญมาตรงกับการสังเกตุด้วยวิธีหรือวัตถุอะไรก็ตามที่หมอดูใช้เพื่อเป็นสื่อในการทำนาย อย่างในกรณีของโหราศาสตร์เนี่ยก็ใช้ดวงดาวกะปฏิทิน แล้วอย่างปฎิทินเนี่ยมนุษย์ก็เป็นผู้สร้างขึ้นแถมยังมีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งหลายรอบอยู่ ก็เผอิญเพียงแค่ว่าในวันนั้นๆ สัมพันธ์กับดาวอย่างไรและเกิดเหตุการณ์หรือมีแนวโน้มอย่างไรก็ประมาณนี้มิใช่หรือครับ


นาย ส ครับ - 1 มิถุนายน พ.ศ.2552 00:00น. (IP: 202.29.54.179)

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
เป็นความคิดเห็นที่ผมคิดว่าคงจะมีอีกหลายๆคนที่สงสัย จึงอยากแบ่งปันความเห็นกันบ้างครับ

โหราศาสตร์ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า astrology ซึ่งมีที่มาจากคำว่า astro + logic คำว่า astro มาจาก astronomy ซึ่งหมายถึงวิชา ดาราศาสตร์ คำว่า logic หมายถึง ปรัชญา เมื่อรวมความแล้ว astrology จึงหมายถึง วิชาที่ว่าด้วยหลักปรัชญาของดวงดาวตามที่มีปรากฎการณ์จริงในจักรวาล ซึ่งนักโหราศาสตร์ในอดีตอาศัยหลักการสังเหตุการณ์ปรากฏการณ์บนฟ้าเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขค้นในโลกมนุษย์ และมีการบันทึกเอาไว้ มีการศึกษาเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องจนกลายเป็นศาสตร์ที่ดำรงอยู่มาถึงปัจจุบัน การใช้โหราศาสตร์จึงใช้ตำแหน่งดาวพระเคราะห์ที่โคจรจริงบนท้องฟ้าซึ่งปัจจุบันเรามีปฏิทิน planetary ephemeris ใช้บอกตำแหน่งดาวจริงได้

ส่วนพยากรณ์ศาสตร์อื่นๆนั้นแม้จะมีชื่อเรียกเหมือนดาว แต่ก็เป็นการเรียกเปรียบเทียบความหมาย เช่น ในวิชาลายมือ จะมีการเรียก เนินต่างๆบนฝ่ามือ ตามชื่อดาวพระเคราะห์ แต่ก็ไม่ได้ใช้ตำแหน่งดาวจริงบนท้องฟ้า ณ ขณะที่พยากรณ์ ใช้เพียงอิทธิพลเปรียบเทียบ ส่วนเลข 7 ตัวนั้น ใช้ตัวเลขแทนชื่อดาวดดยใช้เลขเดียวกับดาวในวิชาโหราศาสตร์ไทยที่แทนสัญญลักษณ์ดวงดาวด้วยตัวเลข ต่างจากโหราศาสตร์สากล ที่ใช้สัญญลักษณ์ แทนดวงดาว

ตามความเห็นของเจ้าของกระทู้ นั้นมีความเข้าใจถูกเพียงบางส่วน ในเรื่องของปฏิทินที่มีการเปลี่ยนแปลงมาตามยุคสมัยต่างๆที่ผ่านมา ในปัจจุบันเราต้องยอมรับกันว่า วิวัฒนาการของปฏิทินดาราศาสตร์นั้นถือว่ามีการยอมรับในระดับหนึ่งว่ามีความถูกต้องแม่นยำมาก เพราะสามารถคำนวนตำแหน่งดวงจันทร์ได้ถูกต้อง เพื่อที่จะปล่อยยานอวกาศไปยังดวงจันทร์ได้ รวมทั้งดาวอื่นๆ หากเราติดตามข่าวความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ด้านอวกาศ

ความถูกต้องแม่นยำนั้น วิชาต่างๆไม่ว่าโหราศาสตร์ทั้งไทย หรือต่างประเทศ รวมทั้งศาสตร์แห่งการพยากรณ์ที่มีทุกศาสตร์ ผู้เป็นเจ้าของศาสตร์เหล่านั้น ก็มีภูมิความรู้ที่น่าเชื่อถือได้ว่ามีความถูกต้องตามหลักการของศาสตร์นั้นๆ ผู้พยากรณ์ต่างหากที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่แตกต่างว่าใครแม่น ใครแม่นกว่า หรือใครไม่แม่น เป็นเรื่องที่นำมาถกเถียงกัน เปล่าประโยชน์

ข้อสรุป ใดๆในโลกล้วน เป็นเรื่องของลางเนื้อชอบลางยา คนเป็นหวัดยังมียาหลายขนานให้เลือกตามจริตของคนไข้ฉันใด การเลือกเรียน เลือกใช้วิชาการพยากรณ์ใดๆก็ขึ้นกับจริตของแต่ละคนฉันนั้น หากรเร้ดังนี้ได้ ความแตกต่างและความแปลกแยกก็จะไม่เกิดขึ้น


อ.วิโรจน์ กรดนิยมชัย - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 09:15น. (IP: 203.149.16.34)

ความคิดเห็นที่ 2
ส่งใหม่ครับ มีแก้ไขข้อความตอนท้ายให้ถูกต้องตามที่ขีดเส้นใต้

เป็นความคิดเห็นที่ผมคิดว่าคงจะมีอีกหลายๆคนที่สงสัย จึงอยากแบ่งปันความเห็นกันบ้างครับ

โหราศาสตร์ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า astrology ซึ่งมีที่มาจากคำว่า astro + logic คำว่า astro มาจาก astronomy ซึ่งหมายถึงวิชา ดาราศาสตร์ คำว่า logic หมายถึง ปรัชญา เมื่อรวมความแล้ว astrology จึงหมายถึง วิชาที่ว่าด้วยหลักปรัชญาของดวงดาวตามที่มีปรากฎการณ์จริงในจักรวาล ซึ่งนักโหราศาสตร์ในอดีตอาศัยหลักการสังเหตุการณ์ปรากฏการณ์บนฟ้าเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขค้นในโลกมนุษย์ และมีการบันทึกเอาไว้ มีการศึกษาเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องจนกลายเป็นศาสตร์ที่ดำรงอยู่มาถึงปัจจุบัน การใช้โหราศาสตร์จึงใช้ตำแหน่งดาวพระเคราะห์ที่โคจรจริงบนท้องฟ้าซึ่งปัจจุบันเรามีปฏิทิน planetary ephemeris ใช้บอกตำแหน่งดาวจริงได้

ส่วนพยากรณ์ศาสตร์อื่นๆนั้นแม้จะมีชื่อเรียกเหมือนดาว แต่ก็เป็นการเรียกเปรียบเทียบความหมาย เช่น ในวิชาลายมือ จะมีการเรียก เนินต่างๆบนฝ่ามือ ตามชื่อดาวพระเคราะห์ แต่ก็ไม่ได้ใช้ตำแหน่งดาวจริงบนท้องฟ้า ณ ขณะที่พยากรณ์ ใช้เพียงอิทธิพลเปรียบเทียบ ส่วนเลข 7 ตัวนั้น ใช้ตัวเลขแทนชื่อดาวดดยใช้เลขเดียวกับดาวในวิชาโหราศาสตร์ไทยที่แทนสัญญลักษณ์ดวงดาวด้วยตัวเลข ต่างจากโหราศาสตร์สากล ที่ใช้สัญญลักษณ์ แทนดวงดาว

ตามความเห็นของเจ้าของกระทู้ นั้นมีความเข้าใจถูกเพียงบางส่วน ในเรื่องของปฏิทินที่มีการเปลี่ยนแปลงมาตามยุคสมัยต่างๆที่ผ่านมา ในปัจจุบันเราต้องยอมรับกันว่า วิวัฒนาการของปฏิทินดาราศาสตร์นั้นถือว่ามีการยอมรับในระดับหนึ่งว่ามีความถูกต้องแม่นยำมาก เพราะสามารถคำนวนตำแหน่งดวงจันทร์ได้ถูกต้อง เพื่อที่จะปล่อยยานอวกาศไปยังดวงจันทร์ได้ รวมทั้งดาวอื่นๆ หากเราติดตามข่าวความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ด้านอวกาศ

ความถูกต้องแม่นยำนั้น วิชาต่างๆไม่ว่าโหราศาสตร์ทั้งไทย หรือต่างประเทศ รวมทั้งศาสตร์แห่งการพยากรณ์ที่มีทุกศาสตร์ ผู้เป็นเจ้าของศาสตร์เหล่านั้น ก็มีภูมิความรู้ที่น่าเชื่อถือได้ว่ามีความถูกต้องตามหลักการของศาสตร์นั้นๆ ผู้พยากรณ์ต่างหากที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่แตกต่างว่าใครแม่น ใครแม่นกว่า หรือใครไม่แม่น เป็นเรื่องที่นำมาถกเถียงกัน เปล่าประโยชน์

ข้อสรุป ใดๆในโลกล้วน เป็นเรื่องของลางเนื้อชอบลางยา คนเป็นหวัดยังมียาหลายขนานให้เลือกตามจริตของคนไข้ฉันใด การเลือกเรียน เลือกใช้วิชาการพยากรณ์ใดๆก็ขึ้นกับจริตของแต่ละคนฉันนั้น หากเราเข้าใจดังนี้ได้ ความแตกต่างและความแปลกแยกก็จะไม่เกิดขึ้น


อ.วิโรจน์ กรดนิยมชัย - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 09:18น. (IP: 203.149.16.34)