เว็บบอร์ด

กระทู้ ถามตอบโหราศาสตร์ พยากรณ์ศาสตร์

ปิดปรับปรุงชั่วคราว

การสังเกตดาวเคราะห์บนฟ้าด้วยตนเอง

การสังเกตดาวเคราะห์บนฟ้า ดาวเคราะห์สว่างที่เห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่าจากโลกมี 5 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ อีก 2 ดวง คือ ดาวยูเรนัสและเนปจูน ต้องอาศัยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ นอกจากดาวเคราะห์แล้ว ยังสามารถส่องเห็นดาวบริวารบางดวงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริวารของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ แผนภาพแสดงตำแหน่งดาวเคราะห์ตามมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตลอดปี 2558 ช่วยให้เห็นภาพรวมคร่าว ๆ ของการปรากฏของดาวเคราะห์ในแต่ละวัน เส้นตรงกลางในแนวดิ่งคือตำแหน่งดวงอาทิตย์ แถบที่แผ่ออกไปสองข้างจากแนวกลางเป็นส่วนที่มีแสงอาทิตย์รบกวน แกนนอนบอกมุมห่างจากดวงอาทิตย์ แกนตั้งบอกวันในแต่ละเดือน แถบที่พาดในแนวเฉียงบอกขอบเขตของกลุ่มดาวจักรราศี เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันตก (ขวามือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาเช้ามืด เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันออก (ซ้ายมือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาหัวค่ำ ดาวเคราะห์วงนอกจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อทำมุม 180° แสดงว่าเป็นช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์ดวงนั้นสว่างและใกล้โลกที่สุดในรอบปี ดาวพุธ ดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์และเคลื่อนที่เร็วที่สุด ด้วยมุมห่างที่จำกัด จึงมีโอกาสสังเกตดาวพุธได้เฉพาะในเวลาพลบค่ำหรือรุ่งสาง ปีนี้มีช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาเช้ามืดอยู่ 3 ช่วง ช่วงแรกตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม ช่วงที่ 2 คือกลางเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ช่วงที่ 3 คือกลางเดือนตุลาคม โดยมีดาวอังคาร ดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดี เกาะกลุ่มกันอยู่สูงเหนือดาวพุธ ช่วงเวลาที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาหัวค่ำมี 4 ช่วง ช่วงแรกเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนถึงปลายเดือนมกราคม โดยมีดาวศุกร์อยู่ใกล้ สามารถสังเกตเห็นเป็นดาวสว่างอยู่คู่กัน ช่วงที่ 2 คือปลายเดือนเมษายนถึงกลางเดือนพฤษภาคม โดยผ่านใกล้ดาวอังคารในวันที่ 22-23 เมษายน ช่วงที่ 3 คือต้นเดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายน โดยผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีในวันที่ 7 สิงหาคม ช่วงสุดท้ายคือกลางเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม 2559 ดาวศุกร์ ตลอดครึ่งแรกของปี 2558 ดาวศุกร์เป็นดาวประจำเมืองอยู่บนท้องฟ้าด้านทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ วันที่ 5-16 มกราคม ดาวพุธผ่านมาใกล้ดาวศุกร์ภายในระยะ 2° เข้าใกล้กันที่สุดในค่ำวันที่ 11 มกราคม ที่ระยะ 0.6° คืนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวเนปจูนที่ระยะ 0.8° คืนวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวอังคารที่ระยะ 0.4° วันที่ 4 มีนาคม ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวยูเรนัสที่ระยะ 0.3° วันที่ 11 เมษายน มองเห็นดาวศุกร์อยู่ทางซ้ายมือของกระจุกดาวลูกไก่ 3° วันที่ 7 มิถุนายน ดาวศุกร์อยู่ห่างดวงอาทิตย์ที่สุดด้วยมุม 45° จากนั้นวันที่ 13 มิถุนายน ดาวศุกร์ผ่านทางขวามือของกระจุกดาวรังผึ้ง ห่าง 0.8° ปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดีอยู่เคียงคู่กัน ใกล้กันที่สุดในค่ำวันที่ 1 กรกฎาคม ห่างกัน 0.4° กลางเดือนกรกฎาคม ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในกลุ่มดาวสิงโตที่ระยะ 2.4° ต้นเดือนสิงหาคม ดาวศุกร์เคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนสังเกตได้ยาก ปลายเดือนสิงหาคม ดาวศุกร์เริ่มเป็นดาวประกายพรึกอยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด ผ่านทางทิศใต้ (ขวามือ) ของดาวหัวใจสิงห์ในต้นเดือนตุลาคม ปลายเดือนนี้ถึงต้นเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงที่ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี และดาวอังคาร อยู่ใกล้กัน ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีในวันที่ 26 ตุลาคม ที่ระยะ 1.0° เป็นวันที่ดาวศุกร์ห่างดวงอาทิตย์ที่สุดด้วยมุม 46° จากนั้นดาวศุกร์จะผ่านใกล้ดาวอังคารในวันที่ 3 พฤศจิกายน ที่ระยะ 0.7° ดาวศุกร์ปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดต่อเนื่องไปจนถึงต้นปี 2559 โดยจะผ่านใกล้ดาวเสาร์ในเช้ามืดวันที่ 9 มกราคม 2559 ห่างกันเพียง 0.3° ดูรูปและรายละเอียดเพ่ิมเติมได้ที่ www. http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/planets/2015planets.html


Admin - 9 มิถุนายน พ.ศ.2558 13:10น. (IP: 171.6.172.144)

ความคิดเห็น